วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สื่อประกอบการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน  
       
           สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ประเภทของสื่อการเรียนการสอน       
       
       1.สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่ง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
           
1.1วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น

            
1.2วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ ได้แก่ ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ 
      
2.สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็นตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน
       3.สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ    

การผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 1. ต้องผลิตสื่อสอดคล้องกับเนื้อหา
 2. ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุด
 3. ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
 4. การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ฯล


หลักในการเลือกสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย
         1.ความเหมาะสม  สื่อเหมาะกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
         2.ความถูกต้อง  สื่อช่วยให้เด็กได้ข้อสรุปถูกต้อง
         3.ความเข้าใจ   สื่อช่วยให้เด็กรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล และให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
         4.ประสบการณ์ที่ได้รับ  สื่อช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่เด็ก
         5.เหมาะสมกับวัย  สื่อมีความยากง่ายเหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจและความต้องการของเด็ก   
         6.เที่ยงตรงในเนื้อหา  สื่อช่วยให้เด็กเรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้อง
         7.ใช้การได้ดี   เพื่อใช้สื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้
         8.คุ้มกับราคา  ผลที่ได้คุ้มกับเวลา เงิน และการเตรียม
         9. ตรงกับความต้องการ  สื่อนั้นช่วยให้เด็กร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการ
        10.ช่วงเวลา ความสนใจ  สื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กมีความสนใจ ช่วงเวลานาน  พอสมควร

ข้อควรระวังในการเลือกสื่อ
         1.ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับเด็ก
         2.ขนาดพอเหมาะ
         3.เหมาะสมกับวัย

การใช้สื่อในการดำเนินกิจกรรม

1.วางแผนเตรียมการใช้สื่อ
  1.1เตรียมตัวผู้สอน คือ ตัวผู้สอนต้องทำความรู้จักกับสื่อการเรียนการสอนในด้านลักษณะ องค์ประกอบ หน้าที่การทำงาน เนื้อหา เพื่อสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
                1.2เตรียมตัวเด็กก่อนเรียน เช่นผู้สอนจะบอกล่วงหน้าว่า เตรียมวัสดุบางอย่างเช่น เตรียมเศษผ้าหรือ เชือกมา คือผู้สอนมีความจำเป็นที่จะต้องอธิบายการใช้สื่อ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                1.3เตรียมห้องเรียนให้สอดคล้องกับการใช้สื่อ เช่นจัดโต๊ะจัดเก้าอี้ให้เหมาะสม ตรวจสภาพความพร้อมด้านต่างๆที่มีผลกระทบต่อการใช้สื่อ
     2.นำสื่อไปใช้ตามแผน
       1.สร้างความพร้อมและกระตุ้นความสนใจของเด็ก
       2.ใช้สื่อการสอนตามแผนที่กำหนดไว้
       3.ปฏิบัติตามขั้นตอน ตามวิธีการและเวลาที่กำหนดไว้
       4. ควรคำนึงถึงเทคนิคการใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
       5.การควบคุมชั้นเรียนให้มีระเบียบวินัย พยายามให้ทุกคนมองเห็นได้ชัดเจน ให้เวลาเพื่อทำความเข้าใจ
       6.เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการใช้สื่อ ให้โอกาสแก่เด็กได้ซักถามเมื่อเด็กสงสัยไม่เข้าใจ

ขั้นวัดและประเมินผลการใช้สื่อ
1. ขั้นตอนการใช้สื่อเป็นไปตามแผนหรือไม่
2. พิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นในการใช้สื่อ
3. พิจารณาด้านความเหมาะสมในการนำสื่อดังกล่าวมาใช้ช่วยในการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความชัดเจน ความน่าสนใจ ความพึงพอใจของผู้สอน และความสนใจของเด็ก  
       4.พิจารณาถึงผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนเนื่องจากการใช้สื่อดังกล่าว โดยใช้ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าหมายที่วางไว้


การเก็บรักษาสื่อ

1.จัดให้มีระบบโดยจัดเรียงลำดับให้ง่ายต่อการใช้และทำความเข้าใจ
2.ควรจัดทำชั้น ตู้ ลิ้นชัก ฯลฯ เก็บรักษา โดยใช้วัสดุในท้องถิ่นให้มากที่สุด
3.จัดระบบการใช้ให้ประหยัดพื้นที่ให้มากที่สุด
4.สภาพแวดล้อมในการเก็บรักษาควรดีพอสมควร คือปราศจากฝุ่น ความชื้นและอุณหภูมิพอเหมาะ 
5.หมั่นตรวจซ่อมบำรุงรักษาอยู่เสมอ ปรับปรุง ซ่อมแซมส่วนชำรุด
6.ตรวจดูแลรักษาสื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมจะใช้งานได้ตลอดเวลา
7.ทำความสะอาด ดูแลเรื่องความชื้น อุณหภูมิของอากาศตามความเหมาะสมของสื่อแต่ละประเภท
8.ปฏิบัติตามคำแนะนำในการเก็บรักษาสื่อการศึกษาแต่ละประเภทให้เหมาะสมตามชนิดของสื่อนั้นๆให้เข้าใจและปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด




ตัวอย่างสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



  


ทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้
 1.การจำแนกประเภท
 2.การจัดหมวดหมู่
 3.การเรียงลำดับ
 4.การเปรียบเทียบ
 5.รูปร่างรูปทรง
 6.พื้นที่
 7.การชั่งตวงวัด
 8.การนับ
10.การรู้จักตัวเลข
11.รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
12.เวลา
13.การเพิ่มและลดจำนวน

การสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

ในการสอนคณิตศาสตร์เด็กอนุบาลจะมีความแตกต่างจากเด็กวัยอื่น ๆ เพราะเด็กในช่วงวัยนี้  มีความสามารถของพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ความสนใจ ธรรมชาติในการเรียนรู้ที่แตกต่างจากเด็กวัยอื่น ๆ และช่วงความสนใจสั้น ดังนั้นในการสอนคณิตศาสตร์   ควรสอนในเรื่องที่ง่ายๆ ใช้เวลาไม่นาน วิธีการสอนหรือรูปแบบน่าสนใจ สื่อวัสดุอุปกรณ์การสอน การวัดผลประเมินผล ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กต้องดำเนินการอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้เด็กได้มีพัฒนาการและเกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้องสนุกและมีความสุข
 
  กิจกรรมที่สามารถพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์

             1.การพัฒนาผ่านกระบวนการเล่นของเด็ก
             2.การพัฒนาผ่านกิจวัตรประจำวันของเด็ก
             3.การพัฒนาผ่านการบูรณาการกับกิจกรรมอื่น
             4.การพัฒนาโดยอาศัยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น